เมนู

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า
ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยาน
กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาท
ที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้าน
ไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือ
เนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็น
แล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ 4 คือ


1. อตถํ วตฺถุํ เรื่องไม่แท้
2. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน
3. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาด-
เคลื่อนนั้น
4. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.
มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึง
เห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำ
กิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อม
ผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว. ก็เพราะ
เหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้ว
โยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึง
รู้อย่างนี้ ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วย
กายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวร-

ประโยค ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง 3 นั้น ไม่ได้มา
ในอรรถกถาทั้งหลาย จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.
ชื่อว่า สัจจวาที เพราะพูดแต่คำจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ เพราะ
เชื่อม คือ สืบต่อคำสัตย์ด้วยคำสัตย์ อธิบายว่า ไม่พูดมุสาในระหว่าง ๆ.
จริงอยู่ บุรุษใดพูดมุสาแม้ในกาลบางครั้ง พูดคำสัตย์ในกาลบางคราว
ไม่เอาคำสัตย์สืบต่อคำสัตย์ เพราะบุรุษนั้นเอามุสาวาทคั่นไว้ ฉะนั้น บุรุษ
นั้นไม่ชื่อว่า ดำรงคำสัตย์ แต่พระสมณโคดมนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูด
มุสาแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เอาคำสัตย์เชื่อมคำสัตย์อย่างเดียว เหตุนั้นจึง
ชื่อว่าสัจจสันโธ.
บทว่า เถโต ความว่า เป็นผู้มั่งคั่ง อธิบายว่า มีถ้อยคำเป็น
หลักฐาน. บุคคลหนึ่งเป็นคนมีถ้อยคำไม่เป็นหลักฐานเหมือนย้อมด้วยขมิ้น
เหมือนหลักไม้ที่ปักไว้ในกองแกลบ และเหมือนฟักเขียวที่วางไว้บนหลัง
ม้า. คนหนึ่งมีถ้อยคำเป็นหลักฐาน เหมือนรอยจารึกบนแผ่นหิน และ
เหมือนเสาเขื่อน แม้เมื่อเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ไม่ยอมพูดเป็นสอง บุคคล
นี้เรียกว่า เถตะ.
บทว่า ปจฺจยิโก ความว่า เป็นผู้ควรยึดถือ อธิบายว่า เป็นผู้ควร
เชื่อถือ. ก็บุคคลบางคนไม่เป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด ?
คนโน้นพูดหรือ ? ย่อมจะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ
คำของคนนั้น บางคนเป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด คน
โน้นพูดหรือ ? ถ้าเขาพูด ก็จะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า คำนี้เท่านั้นเป็น
ประมาณ บัดนี้ ไม่ต้องพิจารณาก็ได้ คำนี้เป็นอย่างนี้แหละ ผู้นี้เรียกว่า
ปัจจยิกะ.

บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ความว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะ
ความเป็นผู้พูดคำจริงนั้น.
ในคำว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
วาจาที่เป็นเหตุทำคนเป็นที่รักในใจของผู้ที่คนพูดด้วย และเป็น
เหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้ง
หยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัป-
ปลาป.
แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่าปิสุณา-
วาจา เป็นต้นไปด้วย. ก็ในที่นี้ ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ.
ในบรรดาวาจาทั้ง 3 อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง
อันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อ
ต้องการทำคนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า
มีคุณน้อย เพราะผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
ผู้นั้นมีคุณมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ 4 คือ


1. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน
2. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่าง
กัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็น
ที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้ว่างใจ ด้วยอุบายอย่างนี้